บทบาทหน้าที่ของโรงเรียนหนองสูงสามัคคีวิทยา
********************
เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนบริบทและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
2. จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
3. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560) และความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
4. จัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
5. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและแนวปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
6. กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตาม แผนงานโครงการ และประเมินผลการปฏิบัติงานตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดำเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
7. ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาจากปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งดูแลบำรุงรักษา ใช้และจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นราชพัสดุและทรัพย์สินอื่นๆตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
8. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
9. ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถานศึกษาและสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น
10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในสถานศึกษา หรือตามที่ได้รับมอบหมาย และตามที่กฎหมายกำหนดให้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 (กรรมการสถานศึกษา) มาตรา 39 (อำนาจหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา)
- กฎกระทรวงแบ่งสวนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2547 (ออกตามมาตรา 34 วรรคสี่ของพระราชบัญญัติบริหารกระทรวงศึกษาธิการ)
- กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา (ออกตามมาตรา 39 วรรคสอง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542)
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 (ออกตามมาตรา 35 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
- กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546
- ระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
- จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ ด้านบุคคล ด้านงบประมาณและด้านบริหารทั่วไป
- จัดตั้งและรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ
- พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
- ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแนวปฏิบัติ
- กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ
- ระดมทรัพยากร ปกครอง ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินของราชการ
- จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
- ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน และสร้างความสัมพันธ์
บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- บทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 37 วรรค 2 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
1.1 เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
1.2 รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
1.3 ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอื่นในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ ไว้เป็นการเฉพาะการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย
- บทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
2.1 รับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาและ ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย
2.2 เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้งและการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
2.3 พิจารณาเสนอความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขต พื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา
2.4 จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
2.5 จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
2.6 จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.7 ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป
2.8 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว ในพระราชบัญญัตินี้กฎหมายอื่น หรือ ตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย
บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
1) จัดรูปแบบการศึกษา มาตรา 15
2) จัดกระบวนการศึกษา มาตรา 24-30
3) บริหารจัดการศึกษา 4 ด้าน มาตรา 39
4) เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา มาตรา 40
5) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 48-50
6) ปกครองดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินของราชการ มาตรา 59
7) พัฒนาบุคลากร นักเรียนด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ มาตรา 65-66
- อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
1) ผ่อนผันการส่งเด็กเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2) เป็นเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่
3) จัดการศึกษาเด็กบกพร่อง พิการ ด้อยโอกาสในรูปแบบที่เหมาะสม มาตรา 12
4) ดำเนินการอื่น ๆตามกฎหมายกำหนด
- อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546 (มาตรา 39)
1) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2) บริหารกิจการสถานศึกษา
3) ประสานระดมทรัพยากร
4) เป็นผู้แทนสถานศึกษา
5) จัดทำรายงานประจำปีต่อกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
6) อนุมัติประกาศนียบัตรวุฒิบัตร
7) อื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมอบหมาย
8) ตามที่ได้รับการกระจาย มอบอำนาจ (ปฏิบัติราชการแทน) มาตรา 44-45
– ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา
– ผู้อำนวยการสำนักฯในกรม ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา
– ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถึงผู้อำนวยการสถานศึกษา
- อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา2546
1) วิเคราะห์จัดทำนโยบาย แผนสถานศึกษา
2) วางระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ
3) เสนอขอจัดตั้งเงินอุดหนุนทั่วไป
4) แต่งตั้งอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ
- อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
1) ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคล มาตรา 27(1)
2) พิจารณาความดีความชอบ มาตรา 27 (2)
3) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาบุคลากร มาตรา 27(3)
4) จัดทำมาตรฐานภาระงานครูมาตรา 27 (4)
5) ประเมินผลการปฏิบัติงานครูมาตรา 27 (5)
6) ปฏิบัติหน้าที่ตาม อ.ก.ค.ศ มาตรา 27 (6)
7) สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลการทางการศึกษาออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติมาตรา 49
8) สั่งบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ครูบุคลากร มาตรา 53( 4)
9) สั่งข้าราชการครูที่ทดลองปฏิบัติราชการออก มาตรา 56 วรรคสอง
10) สั่งให้ ข้าราชการครูพ้นทดลองงานต่อไป มาตรา 56 วรรคสอง
11) สั่งข้าราชการครูที่ออกไปแล้วกลับเข้ามาตาม มติ อ.ก.ค.ศ มาตรา 64
12) สั่งให้ข้าราชการครูรักษาการในตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) มาตรา 68
13) สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูมาตรา 73
14) ยกย่องเชิดชูเกียรติครูดีเด่น มาตรา 75
15) แจ้งภาระงาน เกณฑ์ ประเมินผลงาน มาตรฐานวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพระเบียบแบบ แผนฯ มาตรา 78
16) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดู มาตรา 79
17) ส่งเสริมสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงาน มาตรา 81
18) รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด มาตรา 82
19) เสริมสร้างพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา มาตรา 95-98
20) อนุญาต ยับยั้งการลาออก มาตรา 108
21) สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนกรณีกล่าวหาไม่เลื่อมใสการปกครองฯ มาตรา 110 (4)
22) สั่งให้ข้าราชการครูออกจากราชการ ในกรณีต่าง ๆ เช่น เจ็บป่วย ยุบตำแหน่งไร้ประสิทธิภาพ จำคุก
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดบทบาทหน้าที่ของ ผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
2) นิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องร้อง ให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดี
3) การบริหารบุคคลตามกฎหมายพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4) ยุบ รวม เลิกล้ม โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน โอน จำหน่ายตาม หลักเกณฑ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
5) โรงเรียนมีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ จัดหา ผลประโยชน์ จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แต่จำหน่าย อสังหาริมทรัพย์คณะกรรมการโรงเรียนต้องเห็นชอบและรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ เช่น
1) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548
2) กฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา
3) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548
4) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
5) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
6) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
7) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ.2547
8) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียน นักศึกษา พ.ศ.2547
9) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547
10) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 – พ.ศ.2547
11) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ (ฉ.2) พ.ศ.2547
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 38 ของ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
สถานศึกษา ให้กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545
- อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 26 ของพระราชบัญญัติ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับ การบริหารบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
1) กำกับ ดูแลบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล องกับนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และ วิธีการตามที่ ก.ค.ศ และ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
2) เสนอความคิดต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถาน ศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
3) ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัตินี้กฎหมายอื่น หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย